วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

แสดงความคิด แนะแนวข้อสอบ วิชากรรมฐาน

 นักศึกษา มมร.สธ. โรงเรียนวัดโกเมศรัตนารามรุ่นที่2

แสงเทียนส่องทาง  แสงธรรมส่องใจ

แนะนำแนวข้อสอบ วิชากรรมฐาน ( วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน 2554 )

ตอนที่1 ให้กาถูก หรือ กาผิด หน้าข้อที่เห็นว่าสมควร (10ข้อ)
เนื้อหา

           อารมณ์กรรมฐาน  กับ  อนุสติ 10

ตอนที่2 ให้เลือกทำ 3 ข้อ จาก 5 ข้อทำมีให้(อธิบาย)
เนื้อหา
            ๑.      มรรค คืออะไร มีกี่ประเภท จะได้ไตรสิกขาได้อย่างไร ?
            ๒.     สมถกรรมฐาน ต่างจาก วิปัสสนากรรมฐานอย่างไร ?
            ๓.     เหตุเกิด และ เหตุดับของนิวรณ์  ?
            ๔.     อนุสติ ๑๐ มีอะไรบ้าง อธิบายให้ชัดเจน ?
            ๕.     ปลิโพธ มีอะไรบ้าง อธิบายให้ชัดเจน ?


ส่วนคำตอบช่วนกันหานะครับ...........




เฉลย  มาแล้วครับ.
ตอนที่ 1 จงขีดเครื่องหมายถูก /  หรือผิด x  ให้ถูกต้อง

        /       1.   อนุสติ 10  คือ อารมณ์ที่ดี ควรระลึกถึงอยู่เสมอ.
        x       2.  สีลานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาค.
        /       3.   เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา.
        x       4.  อุปสมานุสติ ระลึกถึงร่างกายที่เสื่อมได้ เพื่อไม่ให้หลงมัวเมา.
         /      5.  อานาปานสติ การใช้สติกำหนดลมหายใจเข้าออก.
         /      6.  จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาค.
         x      7.  กายคตาสติ ระลึกถึงความตาย เพื่อให้เกิดความไม่ประมาท.
        /       8.  ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรม.
        /       9.  สังฆานุสติ ระลึกถึงพระสงฆ์.
        /       10. อุปสมานุสติ การใช้สติกำหนดธรรมเป็นที่สงบ คือนิพพาน.

ตอนที่ 2 ให้ นศ. เลือกคำตอบจากด้านขวามือ ที่มีความสัมพันธ์ตรงกับข้อความมาใส่ช่องด้านซ้ายมือ

  1.           อนุสติ 10                                                      ก. ระลึกถึงความตาย เพื่อให้เกิดความไม่ประมาท
  2.           พุทธานุสติ                                                    ข. การใช้สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
  3.           อุปสมานุสติ                                                  ฃ. ระลึกถึงพระสงฆ์
  4.           อานาปานสติ                                                ค. ระลึกถึงศีลที่ตนได้ประพฤติ
  5.           มรณสติ                                                          ฅ. ระลึกถึงร่างกายที่เสื่อมได้ เพื่อไม่ให้หลงมัวเมา
  6.           เทวตานุสติ                                                    ฆ. อารมณ์ที่ดี ควรระลึกถึงอยู่เสมอ
  7.           จาคานุสติ                                                      ง. การใช้สติกำหนดธรรมเป็นที่สงบ คือนิพพาน
  8.           สีลานุสติ                                                       จ. ระลึกถึงพระพุทธ
  9.           สังฆานุสติ                                                    ฉ. ระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาค
10.           กายคตาสติ                                                    ช. ระลึกถึงเทวดา

 
ตอนที่ 3 ให้ นศ. เลือกทำข้อสอบ 3 ข้อใน 5 ข้อ ดังนี้.

1. สมถะกรรมฐาน ต่างจาก วิปัสสนากรรมฐานอย่างไร
     สมถะกรรมฐาน เป็นอุบาย การยังกิเลส นิวรณ์ทั้งหลายให้สงบระงับ
คือการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ  ได้แก่ หลักหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบทางจิตใจ หรือการทำจิตใจให้เป็นสมาธิความมั่นคงนั่นเอง
     วิปัสสนากรรมฐาน เป็นปัญญา เห็นโดยอาการต่างๆ มีความไม่เที่ยง เป็นต้น
คือ การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริง[8] ได้แก่ หลักหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งตามความเป็นจริงในรูปนาม ขันธ์ ๕ ว่า เป็นสภาวะที่ไม่เที่ยง(อนิจจัง) เป็นทุกข์ ทนได้ยาก (ทุกขัง) เป็นสภาวะที่ไม่ใช่บุคคล ตัวตน เราเขา บังคับบัญชาไม่ได้ (อนัตตา) เรียกว่า วิปัสสนา

สมถะ แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า อุบายสงบใจ” 
กรรมฐาน แปลว่า ฐานเป็นที่ตั้งแห่งการงาน สมถกรรมฐานหมายถึงความสงบเป็นที่ตั้งแห่งการงานทางจิต


2. อริยสัจ 4 มีอะไรบ้าง จงอธิบายให้ชัดเจน
    อริยสัจ 4  :  คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ มีดังนี้
            1) ทุกข์   คือ  ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์
            2) สมุทัย คือ ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์
            3) นิโรธ  คือ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์
            4) มรรค  คือ ความจริงที่ว่าด้วยทางแห่งความดับทุกข์

3. มรรค 8 ประการมีอะไรบ้าง จะได้ไตรสิกขาอย่างไร
    (มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)
สัมมาทิฏฐิ ิ          คือความเข้าใจถูกต้อง
สัมมาสังกัปปะ        คือความใฝ่ใจถูกต้อง
สัมมาวาจา          คือการพูดจาถูกต้อง
สัมมากัมมันตะ        คือการกระทำถูกต้อง
สัมมาอาชีวะ         คือการดำรงชีพถูกต้อง
สัมมาวายามะ        คือความพากเพียรถูกต้อง
สัมมาสติ           คือการระลึกประจำใจถูกต้อง.
สัมมาสมาธิ         คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง
การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่อรวมกัน
.แล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ...............การปฏิบัติธรรม(ศีล-สมาธิ-ปัญญา)ก็คือการเดินตามมรรค

4. นิวรณ์ 5 มีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายให้ชัดเจน
     นิวรณ์ (อ่านว่า นิ-วอน) แปลว่า เครื่องกั้น
1.     กามฉันทะ ความพอใจ ติดใจ หลงใหลใฝ่ฝัน ในกามโลกีย์ทั้งปวง ดุจคนหลับอยู่
2.     พยาบาท ความไม่พอใจ จากความไม่ได้สมดังปราถณาในโลกียะสมบัติทั้งปวง ดุจคนถูกทัณท์ทรมานอยู่
3.     ถีนมิทธะ ความขี้เกียจ ท้อแท้ อ่อนแอ หมดอาลัย ไร้กำลังทั้งกายใจ ไม่ฮึกเหิม
4.     อุทธัจจะกุกกุจจะ ความคิดซัดส่าย ตลอดเวลา ไม่สงบนิ่งอยู่ในความคิดใดๆ
5.     วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจ ลังเลใจ สงสัย กังวล กล้าๆกลัว ไม่เต็มร้อย ไม่มั่นใ

5. ปลิโพธ มีอะไรบ้าง จงอธิบายให้ชัดเจน

             ปลิโพธ แปลว่า เครื่องผูกพัน หรือหน่วงเหนี่ยว
1.  อาวาสปลิโพธ            ความกังวลเรื่องที่อยู่
2.  กุลปลิโพธ                  ความกังวลเรื่องตระกูล
3.  ลาภปลิโพธ                ความกังวลเรื่องลาภสักการะ
4.  คณปลิโพธ                 ความกังวลเรื่องหมู่คณะ
5.  กัมมปลิโพธ                ความกังวลเรื่องการงาน
6.  อัทธานปลิโพธ            ความกังวลเรื่องการเดินทาง
7.  ญาติปลิโพธ                ความกังวลเรื่องญาติ
8.  อาพาธปลิโพธ             ความกังวลเรื่องความเจ็บป่วย
9.  คันถปลิโพธ                 ความกังวลเรื่องการศึกษาเล่าเรียน
10.อิทธปลิโพธ             ความกังวลเรื่องการแสดงฤทธิ์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น